เอาบทความดีๆๆ มาฝาก ยาวหน่อยแต่มีประโยชน์ ครับ Post by : aguero : 2008-05-21 10:14:42




Bookmark and Share

เอาบทความดีๆๆ มาฝาก ยาวหน่อยแต่มีประโยชน์ ครับ

Detail

Zoom ++ Click

เลือกเต็นท์คู่ใจไว้ใช้งาน
เรื่องนี้มาจากประสบการณ์ส่วนตัว ไมได้มีหลักวิชาการใดๆ ผู้อ่านโปรดค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม


เมื่อวันปีใหม่
ผมไปเดินเล่นในห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งย่านบางกะปิเพื่อเอารถไปติดเครื่องเสียงเพิ่มเติม
ทุกครั้งที่เดินห้างสรรพสินค้า ผมอดไม่ได้ที่จะต้องเดินไปแผนกเครื่องกีฬา
ผมไม่ได้ไปดูไม้กล็อฟหรอกนะครับ ผมชอบดูเต็นท์ ถุงนอน เปลสนาม รวมถึงอุปกรณ์เดินป่าต่างๆ พวกเตาแกส
ไฟฉาย อะไรพวกนี้ แม้ว่าปัจจุบันผมจะไม่ค่อยมีโอกาสเดินป่าเท่าไรนัก เพราะมัวแต่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ
แม้กระทั่งหนังสือก็ยังไม่ค่อยได้เขียนเท่าไรนัก ต้องให้บก.ของเราโทรตามแล้วตามอีก
แหะ ทุกครั้งที่ดูก็อดไม่ได้จะต้องซื้ออะไรติดมือไว้บ้างเล็กน้อย
มิให้เสียเวลาที่มาเดินเที่ยวห้างสรรพสินค้าทั้งที ผลก็คือ ผมมีเต็นท์ ถุงนอน เปลสนาม
และอุปกรณ์เดินป่าต่างๆ มากมายเต็มบ้าน พอไม่ได้ 2 ชิ้นที่เก็บเอาไว้จะเอาไปทำอะไร
อย่างเปลสนามก็ยกให้เจ้าหน้าที่อุทยานที่น้ำหนาวไปสองชิ้นแล้ว พอเปิดห้องเก็บของก็ยังพบว่า มีอีก 2
ชิ้นที่เก็บเอาไว้ ไฟฉายมีประมาณ 5 กระบอก ไม่รู้เอาไปทำอะไรนักหนา

เดินห้างครั้งนี้มีสิ่งน่าสนใจ คือ เต็นท์ บริเวณขายของเดินป่ามีเต็นท์กางอยู่มากกว่า 10
เต็นท์เพื่อดึงดูดผู้ซื้อ เวลานี้มีผู้มีผู้ผลิตเต็นท์รุ่นต่างๆ ออกมามากมายตั้งแต่ราคาไม่ถึง1000
บาทจนถึงหลักหมื่นบาท ทั้งน้ำเข้า ผลิตในประเทศ รวมไปถึงจ้างเขาผลิตแล้วมาตรีตราของตัวเอง
ผมสนใจเต็นท์ขนาดใหญ่หลังหนึ่ง สูงประมาณ 180 เซนติเมตร ขนาดประมาณ 3x3 เมตร
เป็นเต็นท์โดมมีฟลายชีทคุมเรียบร้อย คนขายก็มาแนะนำสรรพคุณ จริงบ้างเท็จบ้างอย่างไรก็ขอให้ขายได้
ประเภทฟังแล้วเคลิ้มเหมือนซื้อเต็นท์แล้วได้นอนโรงแรมเชียวละ อย่างไรก็ตาม ผมต้องขอบอกว่า
นักท่องเที่ยวสมัยนี้โชคดีจริงๆ ที่มีเต็นท์ให้เลือกใช้งานมากมาย มีคุณภาพดีอีกด้วย
และราคาไม่แพงอีด้วย
ตอนผมเดินป่าใหม่ๆ มีแต่เต็นท์ดูดี แต่ใช้แล้วไม่ได้เรื่อง แถมมีราคาแพงมาก
แต่นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่กำลังจะซื้อเตนท์ไม่เข้าใจวิธีการเลือกเตนท์ที่เหมาะสม
ส่วนใหญ่เน้นเรื่องราคาถูกกับรูปทรงสวยงาม ส่วนเรื่องความแข็งแรงกันน้ำกันฝน
คนขายเขาบอกว่าดีเราก็ดีตาม
ด้วยผมจึงอยากแนะนำวิธีเลือกเต็นท์คู่ใจ ซึ่งผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเต็นท์นะครับ
ชีวิตผมแม้จะเดินป่ากางเต็นท์บ่อยๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นเข้าบุญทุ่ม ซื้อเต็นท์ทุกแบบที่ออกมา
ยังไม่ใช้นักสะสมเต็นท์ตัวยง (แต่มีเพื่อนผมที่พึ่งรู้จักกัน มีเต็นท์มากกว่า 10 แบบ)
คำแนะนำต่อไปนี้ของผมเป็นการแนะนำจากประสบการณ์ที่มีเตนท์ในครอบครองหลายเต็นท์
บางเต็นท์กันน้ำค้างยังไม่ได้เลย ส่วนบางเต็นท์ก็กันฝนได้ไม่นานน้ำเข้า และบางเต็นท์ก็ทนทายาทสิ้นดี
ไม่ว่าฝนจะตกหนักอย่างไรน้ำก็ไม่เข้าเลย ที่สำคัญ คุณภาพของเต็นท์ไม่ได้ขึ้นกับราคามากนัก นั้นหมายถึง
เราสามารถได้เต็นท์ดีราคาถูก ถ้าเราเลือกเป็น

แล้วทำไมเราต้องใช้เต็นท์ด้วยละครับ ในเมื่อเรามีบ้านพักให้เช่า นอนเปลก็ได้ หรือนอนในรถก็ยังได้เลย
ถ้าผมถามทุกคนว่า เวลาไปเดินป่า อยากนอนเต็นท์หรือบ้านพัก เชื่อเลยว่าส่วนใหญ่คงอยากจะนอนบ้านพักแน่นอน
ผมเองก็เหมือนกับ บ้านพักสบายออก มีที่นอนหมอนมุ้ง มีห้องน้ำ มีเตียงนุ่มๆ มีผ้าห่มอุ่นสบาย
แล้วจะหาเรื่องเดือนร้อนไปนอนเต็นท์ให้ลำบากทำไม เวลาฝนตกก็เฉอะแฉะ น้ำเข้าอีกต่างหาก ทั้งแมลง ตัวทาก
สัตว์มีพิษ อันตรายทั้งนั้น

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:14:42] mail not show 210.86.181.20

1


Comment : 1

Zoom ++ Click

ประการแรก เต็นท์กางที่ไหนก็ได้ ในขณะที่บ้านพักมีอยู่เฉพาะบริเวณที่ทำการอุทยานเท่านั้น
บางครั้งผมต้องไปรอเก็บภาพพระอาทิตย์ขึ้นกลางป่า เช่น ที่ทุ่งพญา ทุ่งแสลงหลวง พิษณุโลก
บริเวณนั้นไม่มีที่พักเลย ต้องกางเต็นท์สถานเดียว
และเวลาในการเดินทางจากที่ทำการไปยังทุ่งพญาใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงสำหรับรถขับเคลื่อนสี่ล้อ
หากใช้รถขับเคลื่อนสองล้อต้องใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง ผมหมายถึงขับไปสบายๆ
ไม่ได้เร่งรถตะกุยตะกายจนควันดำเสียงลั่นป่าแตกนะครับ ถ้าขับแบบนั้นชั่วโมงเดียวก็ถึงแล้ว
โดยเฉพาะตอนเช้าๆ จะมีน้ำค้างลงค่อนข้างมาก ทางจะลื่นโดยเฉพาะทางขึ้นเขา
หากจะต้องไปถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นก็ต้องตื่นตั้งแต่ตี 3 นั้นละ แต่ถ้าเราไปกางเต็นท์นอนกลางทุ่งพญา
กลางคืนเราจะได้เห็นหมู่ดาวนับแสนดวงบนท้องฟ้า ลมพัดเย็นสบาย เสียงสนต้องลง ช่างมีความสุขดีแท้
แล้วบรรยากาศแบบนี้คงหาไม่ได้ หากเราไม่ไปกางเต็นท์นอนกลางป่า



ประการที่สอง ค่าใช้จ่ายในการกางเต็นท์ประหยัดกว่าการเช่าบ้านพักมากๆๆๆๆ
เวลานี้ค่าบ้านพักอุทยานหลังเล็ก ประเภทมีห้องนอนหนึ่งห้อง ราคาประมาณ 800-1000 บาท ถ้าผมนอนสัก 5
คืนก็ตกประมาณ 4000 บาท เท่ากับการซื้อเต็นท์หลังใหญ่ดีๆ ได้ 1 หลังเลยนะครับ ซื้อเต็นท์จ่ายมากตอนแรก
ยิ่งใช้จะยิ่งคุ้ม บ้านพักจ่ายหนัก และจ่ายยาว ปีหนึ่งผมเที่ยวป่าประมาณ 20 คืน
ถ้านอนบ้านพักเท่ากับเสียค่าใช้จ่ายไปประมาณ 20000 บาท ซื้อเต็นท์ 4000 บาท ค่ากางเต็นท์อีก 600 บาท
ประหยัดไป 13,600 บาทเชียวนะครับ



ประการที่สาม เต็นท์ (ของผมเอง) สะอาดกว่าบ้านพักป่าไม้ (โดยส่วนใหญ่) จะประกอบด้วยเตียงนอนก็โทรมๆ
ผ้าห่มเก่าๆ นอนแล้วคันยิบๆ ไปทั้งตัว แถมมีตุ๊กแกตัวใหญ่มาขับกล่อมเราทั้งคืนอีกด้วย
แบบนี้ผมเองก็ไม่ค่อยสันทัดเท่าไร ปกติเวลานอนบ้านพักป่าไม้จะต้องเอาถุงนอนไปปูพื้นชั้นหนึ่งก่อน
มิเช่นนั้นจะเจอกองทับตัวลิ้นตัวไรเต็มไปหมด สาเหตุเพราะบ้านพักอุทยานมันอยู่ในป่า
แล้วสัตว์พวกนี้มันก็เป็นของคู่ป่า บ้านพักในป่าจึงต้องมีเพื่อนร่วมนอนมากมายเป็นเรื่องธรรมชาติ
แต่ถ้าเรากางเต็นท์ เราเอาของเหล่านี้ไปเอง ถ้าไม่อยู่นานหรือไม่ไม่ประมาทนัก
พวกสิงสาราสัตว์ขนาดเล็กมันก็ไม่ได้เข้าไปนอนเป็นเพื่อนเรา
และเต็นท์ยังมิดชิดมากกว่าห้องนอนซึ่งพวกแมลงขนาดเล็กๆ สามารถลอดเข้าไปได้ตามช่องไม้ ประตูหน้าต่าง
ยกเว้นแต่เฟอะฟะให้แมลงเข้าไปได้เองเท่านั้น มันถึงจะมีสัตว์อันตรายเข้าไปในเต็นท์เราได้ โดยรวมแล้ว
ผมว่าเต็นท์ปลอดภัยจากแมลงมากกว่าบ้านพัก แต่ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ บ้านพักปลอดภัยกว่าแน่นอน



ประการที่สี่ เต็นท์ได้บรรยากาศมากกว่า ยกเว้นแต่ไปเจอบ้านพักที่ตกแต่งเอาไว้อย่างเลิศหรู
แบบนี้ต่อให้เต็นท์กางไว้ในทำเลดีอย่างไร สำหรับคนเมืองอย่างผมก็ต้องว่าบ้านพักดีกว่าแหง๋ม
เวลาไปกางเต็นท์ที่ทำเลดีๆ อย่าง กลางทุ่งพญา ริมหน้าผาน้ำตกแม่สุรินทร์ บนดอยหลวงเชียงดาว
หรือภูกระดึงยามไม่มีคน บรรยากาศแบบนี้ยากจะลืม ยิ่งมีฝนปรอยๆ มีหมอกบางๆ คุมไปทั้งป่า
มันช่างสุขใจจริงๆ แต่ถ้าอยู่ในบ้านพัก มันซึมซับบรรยากาศได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเวลาฝนตก
นอนในเต็นท์ช่างมีความสุขจริงๆ

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:15:41] mail not show 210.86.181.20

Comment : 2

Zoom ++ Click

แต่เต็นท์ก็มีเรื่องน่าปวดหัวอยู่มากพอควร เช่น ต้องกางเต็นท์ ต้องเก็บเต็นท์
ต้องทำความสะอาดหลังจากที่กลับถึงบ้าน ต้องเอาเต็นท์ไปผึ่งลมให้แห้ง เต็นท์กันสัตว์ใหญ่ไม่ได้
เต็นท์กับลมแรงมากๆ หรือฝนตกหนักสุดๆ ไม่ไหว เต็นท์กลัวน้ำท่วมสูง ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม
ผมก็ยังชอบเต็นท์อยู่ดี เพราะเต็นท์ประหยัดกว่าบ้านพัก จะว่า "งก" ก็คงได้นะครับ

แล้วเราจะเลือกเต็นท์คู่ใจสักหลัง(หรือสองหลัง)ได้อย่างไร ผมขอเล่าจากประสบการณ์ของผมก็แล้วกัน
วิชาการไม่มีนะครับ
ช่วงเด็กๆ ที่ผมเรียนลูกเสือ จำได้ว่าต้องกางเต็นท์นอนที่โรงเรียน
เป็นอะไรที่ตลกมากที่เราต้องกางเตนท์เพื่อนอนกลางสนามหญ้าในโรงเรียนซึ่งอยู่ใจกลางกรุงเทพ
แต่มันก็ยังดีกว่าไม่ได้กางเต็นท์เลยใช่ไหมครับ อย่างน้อยมันก็ทำให้เด็กประถมชั้นปีที่ 5
พอจะมีความสุขสนุกสนานกับการเข้าค่ายลูกเสือได้ในระดับหนึ่ง แน่นอนว่า
ครูของเราจะแจกเต็นท์ให้สามคนต่อหนึ่งหลัง เป็นเต็นท์สามเหลี่ยมปักเสาตรงกลาง
ตัวเต็นท์ทำจากผ้าใบที่เป็นผ้าจริงๆ ไม่ใช่พลาสติกแบบปัจจุบัน ตัวเต็นท์ประกอบด้วยผ้าสองชิ้น
ผ้าหลังคาเต็นท์กับผ้าพื้นเต็นท์ ตัวผ้าหนาตึบเป็นนัยว่า ฉันกันฝนได้นะน้อง ผมเรียกเต็นท์นี้ว่า
เต็นท์สามเหลี่ยมลูกเสือ ซึ่งเราสามารถพบเห็นเตนท์แบบนี้ได้ตามค่ายลูกเสือหรือตามอุทยานแห่งชาติบางแห่ง
เต็นท์แบบนี้กางยากมาก ต้องใช้คนอย่างน้อยสามคม สองคนจับเสาเต็นท์ อีกคนกางเต็นท์และขึงเต็นท์ให้ตึง
ถ้าไม่มีเสาหรือสมอบกไม่มีทางกางเต็นท์แบบนี้ได้เลย เต็นท์แบบนี้ก็ไม่ได้กันน้ำแม้แต่น้อย
เวลาฝนตกน้ำจะซึมผ่านผ้าหนาๆ หน้าตาเฉย เวลาฤดูหนาวก็จะมีหยดน้ำหล่นแหมะๆ มาที่หน้าเราตลอดทั้งคืน
เพราะไม่มีที่ระบายอากาศ กลางวันอากาศจะร้อนตับแล็บ ผมเคยเอาไข่ไว้ในเต็นท์แบบนี้
ไข่ดิบกลายเป็นไข่ลวกเชียวละคุณเอ๋ย ๆไม่เชื่ออย่าลบหลู่กันนะ
ผมจำได้ว่า ประมาณมัธยม 3 เรามีการเข้าค่ายลูกเสือกที่สระบุรี น้ำตกเจ็ดสาวน้อย
ตอนนั้นบริเวณน้ำตกเจ็ดสาวน้อยยังเป็นป่าที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์อยู่ คนไปกันน้อยมาก เล่นน้ำสบายเชียวละ
เรากางเต็นท์สามเหลี่ยมกันกลางป่า แล้วคืนนั้นฝนก็ตกลงมา
จากเต็นท์สามเหลี่ยมที่เราขึงเชือกกันจนผ้าตึงเป๊ะ พอโดนลมโดนฝนเข้าหน่อย ผ้าก็เริ่มหย่อน
น้ำก็เริ่มเข้าเต็นท์ และเต็นท์ชนิดนี้มีรอยต่อเยอะมาก น้ำจึงเข้าได้ทุกทิศทาง คืนนั้นมดก็เข้าเต็นท์อีก
ปูนขาวที่เราโรยไว้รอบเต็นท์ทำอะไรไม่ได้แม้แต่น้อย ผมเห็นมดเดินข้ามปูนขาวก็อดสงสัยไม่ได้ว่า
ใครเป็นคนแรกที่บอกว่าปูนขาวกันแมลงได้กันเนี้ย โกหกทั้งเพเลย
ก็มดมันเดนข้ามปูนขาวมาอย่างสบายอารมณ์นี่นา
หลังจากนั้นผมก็ไม่ได้ไปป่ากางเต็นท์อีกจนกระทั่งเรียนมหาวิทยาลัยปี 2 กลางเดือนตุลาคม
ชมรมถ่ายภาพของเราจัดเข้าค่ายกันที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ คิดเอานะครับว่า
ภูเรือเป็นอุทยานแห่งชาติที่อุณหภูมิติดลบบ่อยๆ และแนวเขาด้านนี้เป็นทางลม ลมจะแรงมาก
แล้วอากาศจะเย็นขนาดไหนลองนึกภาพดูก็แล้วกัน ตอนนั้นชมรมของเรายังยากจนกันมาก งบน้อยสุดๆ
เราจองบ้านพักให้ผู้หญิงนอนสองหลัง ส่วนผู้ชายไปนอนเต็นท์สามเหลี่ยมลูกเสือซึ่งเช่าจากอุทยานฯ
อีกทีหนึ่ง พอฝนตกลงมา พวกเราก็หลายเป็นลูกหมาไปเลย ดีนะที่ยังเป็นพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์
แม้เปียกน้ำก็ยังดูมีสง่าราศีบ้าง ถ้าเป็นเจ้าตูบหลังพันธุ์ทาง วันคงดูไม่จืดแน่
จำได้ว่าตอนนั้นอากาศหนาวมากๆ ประมาณ 8 องศา ผมไม่มีเสื้อกันหนาวแม้แต่ตัวเดียว
เพราะไม่รู้ว่าภูเรือฤดูฝนมันจะหนาวอะไรกันปานนั้น เท้าผมแตกเลือดออกทั้งวัน
ทั้งมือทั้งเท้าระเบิดเถิดเทิงพังหมด แต่ก็สนุกดีนะครับ นอนไปนึกถึงบ้านไป
ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยไปเที่ยวที่ไหนแล้วนึกถึงบ้านเลย มีครั้งนี้ครั้งเดียวที่อยากกลับบ้าน
เพราะมันหนาวทรมานจริงๆ
หลังจากแคมป์ถ่ายภาพที่ภูเรือ ผมสาบานกับตัวเองเลยว่า ต่อไปนี้จะไม่นอนเต็นท์สามเหลี่ยมอีกแล้ว
แล้วจะใช้เต็นท์แบบไหนดีละ มองไปทางไหนมันก็เจอตี่เต็นท์สามเหลี่ยมลูกเสือนี่นา


บทเรียนแรกคือ ผมไม่แนะนำให้เราใช้เต็นท์ผ้าใบสามเหลี่ยมนะครับ กางยากมาก ป้องกันอะไรก็ไม่ได้
ไม่ว่าจะแมลง ฝน น้ำค้าง กางเต็นท์ทีต้องใช้คนหมู่หนึ่ง คือ เจ็ดคนช่วยกันถึงจะกางได้สำเร็จ
ให้ลูกเสือตัวน้อยเขาใช้กันไปเถอะครับ เพื่อความสนุกสนานของเด็กๆ โดยเฉพาะยามฝนตก แต่สำหรับนักถ่ายภาพ
ผมอยากให้นอนสบายๆ หลับเป็นสุข ตื่นมามีแรงไปเก็บภาพสวยๆ น่าจะดีกว่านะครับ

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:16:16] mail not show 210.86.181.20

Comment : 3

Zoom ++ Click

หลังจากนั้น พอผมอยู่ปี 4 ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวถ่ายภาพเพื่อทำโปรเจคส่งอาจารย์ที่ภูกระดึง
เป็นการเที่ยวป่าแบบกางเต็นท์อีกครั้งในรอบ 2 ปี คราวนี้บทเรียนจากภูเรือยังคงตรึงอยู่ในหัวใจอันน้อยๆ
ของกระผม ผมไม่ยอมนอนเต็นท์สามเหลี่ยมแบบลูกเสืออีกแน่นอน รุ่นน้องของผมให้ยืมเต็นท์มาสองหลัง
เป็นเต็นส์สามเหลี่ยมสำเร็จ คือยังมีเสากลางและต้องขึงสมอบก แต่ว่าผ้าเต็นท์ไม่ได้เป็นผ้าใบหนาๆ
แบบเตนท์ลูกเสือ เป็นผ้าร่มซึ่งรุ่นน้องผมบอกว่า มันกันน้ำนะพี่ ชัวร์ ผมซื้อมาจากอเมริกา
นะ..ของนอกย่อมดีเสมอ และผมดูหนังสือท่องเที่ยว เต็นท์ที่ดูดีที่สุด
แพงที่สุดก็เป็นเต็นท์สามเหลี่ยมแบบของรุ่นน้องผมนี่แหละ คราวนี้เราขึ้นภูกระดึงฤดูหนาว ฝนไม่ตก
ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ทุกอย่างไปได้ดี ยกเว้น "ทาก" เยอะเหลือเกิน

กลับจากภูกระดึงรู้สึกมันส์ในจิตใจ หลังจากนั้น ช่วงฤดูร้อน
ผมกับรุ่นน้องสองคนต้องไปสำรวจหาที่จะจัดแคมป์ถ่ายภาพ ปีนั้นเราตั้งใจจะไปที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
เราไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเทือกเขาเพชรบูรณ์ในฤดูร้อนมาก่อนเลย
ไม่มีแม้แต่ข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
รุ่นน้องผม(ตอนนี้กำลังทำปริญญาเอกด้านวิศวะที่อเมริกา) ช่วยหาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนาวให้
เราก็รู้แค่ที่ตั้งของอุทยาน แหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ เพื่อให้เราวางแผนการสำรวจอุทยานกันได้
เรามีเวลาทั้งหมด 7 วันที่น้ำหนาว

ครั้งนี้เรายืมเต็นท์ของรุ่นน้อง เป็นเต็นท์ที่เราเคยเอาไปใช้งานที่ภูกระดึง ไว้ใจได้ ใหญ่ นอนสบาย
ผมยังจำได้ว่าเป็นเต็นท์สีน้ำเงิน มีเสากลางเหมือนเต็นท์สามเหลี่ยมลูกเสือ แต่ดีกว่ามาก

ไม่น่าเชื่อนะครับว่า กลางฤดูร้อนซึ่งกรุงเทพร้อนๆๆๆๆๆๆๆอภิมหาร้อน แต่ที่น้ำหนาวอากาศกลับเย็นสบายจริงๆ
วันแรกก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่วันที่สองเริ่มมีฝนตกลงมาปรอยๆ เล็กน้อย วันที่สามฝนเริ่มมากขึ้นอีก
พอดีเรากางเต็นท์ใต้ต้นไม้ และบริเวณนั้นต้นไม้เยอะมาก น้ำซึมเข้าเต็นท์เล็กน้อย
ซึ่งผมว่ามันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่แปลกใจนิดๆ ว่า ภาพเต็นท์มีการเคลือบสารป้องกันน้ำ
แต่ทำไมน้ำถึงซึมเข้ามาได้ละหว่า เอานะ ช่างมัน อย่างไรเราก็ต้องใช้เต็นท์นี้อยู่ดีนั้นแหละ
วันที่สี่ เราต้องเดินทางเข้าป่าสนภูกุ่มข้าว วันนั้นเป็นวันที่อากาศปลอดโปร่ง ฟ้าสวยมาก
ที่น้ำหนาวเวลาฤดูร้อนหรือฤดูหนาว ฟ้าจะสวยมากๆ อากาศใส มีเมฆเป็นปุยขาว ถ่ายภาพได้สวยจริงๆ
เรากางเต็นท์ที่ด้านบนของภูกุ่มข้าว ซึ่งขณะนั้นป่านสนแน่นมากๆ และยังไม่มีถนนข้ามลำธารเหมือนในปัจจุบัน
ประมาณเที่ยงๆ ผมเห็นเมฆทะมึนมาแต่ไกล แต่บริเวณที่ผมอยู่ก็ยังปกติดี ไม่น่าจะมีฝนตกลงมาได้
แค่เวลา 1 ชั่วโมงนิดๆ เมฆที่เห็นไกลลิบๆ มาอยู่ที่หัวผมแล้ว เอาละหว่า สงสัยฝนจะตกแน่ๆ แต่ไม่เป็นไร
เราหลบฝนในเต็นท์ก็ได้ แค่คิดยังไม่ทับจบ ฝนก็กระหน่ำลงมา ผมนั่งในเต็นท์ฟังเสียงฝนอย่างสบายใจมากๆ
ไม่ได้บรรยากาศคลาสสิคแบบนี้มานานแล้ว ที่ไหนได้ ครู่เดียว ลมก็พัดมาอย่างแรงจนสมอบกเต็นท์ถอน
ผมต้องเอามือยับขอบเต็นท์เอาไว้ไม่ให้เต็นท์พัง เอาขาตั้งกล้องมากางยังเต็นท์เอาไว้
จำได้ว่าตัวเอาเหมือนลิงเลย มือสองข้างยันเต็นท์เอาไว้สองด้าน ส่วนขาก็เหยียบขาตั้งกล้องเอาไว้ไม่ให้ล้ม
ไม่อย่างนั้นเต็นท์พังลงมาแน่นอน น้ำเริ่มเข้าเต็นท์ไหลเป็นทางจากขอบพื้น บริเวณซิบ และบริเวณตะเข็บ
ซวยละซิทีนี้ คืนนี้ได้เป็นปลาทองว่ายน้ำในสระแหงๆ พักใหญ่ๆ ในเริ่มซาลง ผมกางร่มออกมาซ่อมเต็นท์
ปักสมอบกใหม่ ยังไม่ทันไร ฝนก็หนัก ลมแรงมาอีกแล้ว ผมก็ต้องไปนั่งเป็นลิงยันเต็นท์อีกรอบ
ลองนึกภาพดูซิครับว่ามันทุกรักทุเรขนาดไหน เวลาผ่านไป สามชั่วโมง
เต็นท์เราน้ำเข้าขนาดเอาปลามาเลี้ยงได้เลยมั้ง คืนนี้ไม่ต้องนอนมันแล้ว ยังนึกในใจ
ไหนเจ้าเสมันบอกว่าเต็นท์อย่างดีกันน้ำไง นี่น้ำมันเข้ามาเป็นตู้ปลาเลย สงสัยจะกันน้ำออกซะมากกว่า
คืนนี้ผมกับรุ่นน้องต้องไปนอนอยู่ริมผา ดูหมอกลอยเหนือยอดสน ใจหนึ่งก็ขอบคุณที่เต็นท์น้ำเข้า
เลยได้มีโอกาสมาดูทะเลหมอกสวยๆ ใต้แสงจันทร์ แต่อีกใจก็ "หนาวอิ๊บอ๋าย"

บทเรียนนี้สอนให้ผู้รู้ว่า อย่าไว้ใจเต็นท์ที่ยืมมาโดยเด็ดขาด และอย่ามั่นใจว่าเต็นท์ของเราน้ำจะไม่เข้า
จนกว่าเราจะได้ลองแล้วเท่านั้น

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:16:43] mail not show 210.86.181.20

Comment : 4

Zoom ++ Click

หลังจากสะบักสะบอมจากน้ำหนาว คราวนี้ผมตั้งปณิธานแน่วแน่ว่า ผมจะต้องมีเต็นท์เป็นของตัวเอง
และเต็นท์ผมต้อง "อย่างดี" น้ำไม่เข้า ผมไปรับงานถ่ายภาพสามงาน
ได้เงินมาประมาณสี่พันกว่าบาท วันหนึ่งไปเดินห้างมาบุญครอง เจอร้านสื่อเดินทางเอาเต็นท์มาลดราคา
แล้วผมก็ได้เต็นท์หลังแรกเป็นของตัวเอง ผมซื้อเต็นท์รุ่น New Line เป็นเต็นท์สามเหลี่ยมไม่มีเสากลาง
แต่เป็นโครงไฟเบอร์รูปตัว V คว่ำ แล้วมีคานโค้งตรงกลาง ผ้าเต็นท์สองชั้น ด้านนอกเป็นฟลายชีท
คล้ายผ้าร่มเคลือบสารป้องกันน้ำ ด้านในเป็นมุ้งกันแมลง ด้านหน้าเป็นผ้าร่มเคลือบกันน้ำ
มีสาบปิดซิบกันฝนซาดน้ำเข้าซิบ ซิบที่ใช้กันน้ำ ตะเข็บต่างๆ เย็บกันน้ำอย่างดี
ดูแล้วน่าเชื่อถือว่ามันกันฝนได้


ผมชอบเต็นท์แบบนี้ตรงที่มีมีเสากลางมาเกะกะทางเข้าออก และสามารถกางเต็นท์ด้วยตัวคนเดียวได้ แต่ราคานี่ซิ
เตนท์รุ่นนี้นอนได้สามคม แต่สำหรับผม นอนคนเดียวก็เต็มแล้ว เพราะมีสำภาระอีกเพียบเลย
หรืออย่างเก่งก็ไม่เกินสองคน จำได้ว่าตัดสินใจอยู่นานเลยกว่าจะยอมควักเงินสองพันสี่ร้อยบาท
ที่ตัดใจยอมซื้อเพราะคิดว่า อย่างไรเราก็เที่ยวบ่อยอยู่แล้ว เช่าบ้านพักมันก็เปลือง
เวลาเทศกาลก็หาบ้านไม่ได้อีก เต็นท์นี่แหละสบายใจดี ประหยัดระยะยาว แล้วก็ไม่อยากหลับๆ
ตื่นเพราะน้ำเข้าเต็นท์อีกแล้ว

มันยากเหมือนกันนะครับที่จะซื้อเตนท์ราคาสองพันกว่าบาทในขณะที่ตัวเองยังไม่มีรายได้อะไรมากนัก
และเตนท์เล็กๆ ขณะนั้นราคาประมาณพันกว่าบาทเท่านั้น เต็นท์ที่แพงสุดตอนนั้นราคาประมาณสี่พัน
รุ่นเมาท์เท่าวิว ดูหรูเท่ห์ชะมัด
จากนั้นผมต้องไปเที่ยวน้ำหนาวอีกครั้ง และเป็นครั้งแรกที่ผมได้ใช้เต็นท์ดีๆ
แหมม…มันดีชะมัดเลย กลางวันก็ไม่ร้อนเพราะเตนท์ระบายลมดีมาก
น้ำค้างไม่หยดเพราะเต็นท์เป็นผ้าสองชั้น ผมได้ใช้เต็นท์หลังนี้ตอนฝนตกแรงๆ น้ำไม่เข้าเลยสักหยด
ยอดเยี่ยมกระเทียมดองจริงๆ ผมไปเที่ยวน้ำหนาว ภูเรือ ภูกระดึง เขาใหญ่ แก่งกระจาน ทับลาน ปางสีดา
ภูหินร่องกล้า น้ำตกเอราวัน สังขละบุรี ทีลอซู ใช้เต็นท์หลังนี้ตลอด จำได้ว่าใช้อยู่ประมาณ 7 ปี
จำนวนนับครั้งไม่ถ้วน เวลาไปเที่ยวที่ไหนก็จะรู้สึกว่า เต็นท์เรามันเท่ห์จริงๆ เต็นท์คนอื่นๆ
เป็นเต็นท์ธรรมดา เสากลาง ไม่มีฟลายชีท เวลาฝนตกโวยวายกันลั่นเพราะน้ำเข้าเต็นท์ ส่วนผมนอนสบายใจเฉิบ
ไม่ว่าฝนจะลงมาอย่างไร ผมก็ยังนอนหลับสบายภายใต้เต็นท์นิวไลน์ เยี่ยมจริงๆ ผมใช้จนผ้าเต็นท์เริ่มเปื่อยๆ
บ้างแล้ว ยางดึงต่างๆ ก็เริ่มเสื่อมสภาพ ระยะหลังคนไทยเริ่มเที่ยวป่ากันมากขึ้น มีเต็นท์แบบใหม่ๆ
หลากหลายยี่ห้ออกมาให้เลือกมากมาย ผมเลยต้องปลดระวางเต็นท์หลังนี้ออกไป

สิ่งที่ผมได้ก็คือ ซื้อเต็นท์ดีๆ สักหลังเถอะครับ เอาแบบมีโครงไฟเบอร์ กางง่าย มีฟลายชีทสองชั้น
น้ำไม่เข้า ดีด้วยประการทั้งปวง

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:17:12] mail not show 210.86.181.20

Comment : 5

Zoom ++ Click

อื้ม…. ผมลืมเล่าเรื่องหนึ่งไป ขณะที่ผมใช้เต็นท์นิวไลน์อยู่
เพื่อนกลุ่มถ่ายภาพสองคนของผมเห็นว่า เตนท์ที่ผมใช้อยู่ใช้งานได้ดีมาก
ก็เลยแอบไปซื้อเต็นท์แบบของผมใช้งาน พอดีมีช่วงจัดรายการลดราคาอยู่ เหลือไม่ถึงสองพัน
เพื่อนผมคว้ามาคนละหลัง จากนั้นเราไปเที่ยวทีลอซูกัน ปรากฏว่า แค่กางเต็นท์ครั้งแรกก็มีปัญหาแล้ว
ตัวคลิบพลาสติกที่เหน็บเต็นท์ด้านในเข้ากับเสาไฟเบอร์หักหมดทุกตัว ต้องหาเชือกมามัดแทน
รุ่นที่ผมใช้เป็นเหล็กสปริง แต่เพื่อนผมเป็นพลาสติกกรอบมากๆ มันเลยหัก ผมก็แซวๆ ว่า นี่ไง
ที่ลดราคาลงไปก็เป็นค่าพลาสติกนี่แหละ เพื่อนผมบ่นเช็ดเลย

เรื่องนี้สอนให้ผมรู้ว่า ระวังของลดราคาให้ดีว่า เขาทำมาเพื่อลดราคา หรือเอาของปกติมาลดราคา
ถ้าทำมาเพื่อลดราคา น่ากลัว เพราะจะมีการลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ราคาลดลง กำไรเท่าเดิม
หรือเขายอมลดกำไรแล้วคงคุณภาพของวัสดุเพื่อให้เราได้ใช้ของดีราคาไม่แพงกันแน่ ดูดีๆ นะครับ

หลังจากปลดระวางเต็นท์หลังแรกออกไป ผมมองหาเต็นท์หลังที่สอง
ผมไปเดินห้างขายส่งที่ต้องเป็นสมาชิกถึงจะซื้อของได้นะครับ คงรู้จักกันดี มีเต็นท์โดมขนาดประมาณ 4
คนมาลดราคาเหลือประมาณเกือบๆ 2,000 บาท มีหลายชีทเหมือนกัน หน้าต่างสี่ด้าน ผ้าดูดี มีทางลมโปร่งสบาย
ผมจำได้ว่าเต็นท์ลักษณะแบบนี้ที่เคยดูๆ มาประมาณ 3000 บาท นี่ราคาไม่ถึง 2000 บาท คุ้มมาก ต้องซื้อ
ผมก็เลยคว้าเต็นท์หลังนี้เอามาใช้งาน

ระยะแรกก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่รู้สึกว่า เวลาแดดออกมันร้อนจัง
เพราะผ้าฟลายชีทมันไม่ได้เป็นผ้าสีเงินสะท้อนแสง มันก็เลยปล่อยให้ความร้อนเข้ามาได้เยอะหน่อย
ช่วงฤดูหนาวกับฤดูร้อนมันก็โอเคนะครับ หลังจากนั้น ผมไปเที่ยวที่แก่งกระจาน เจอฝนหนักเหมือนกัน
มีน้ำซึมๆ เข้าที่ขอบเต็นท์ อะไรหว่าน้ำเข้าด้วย โชคดีที่ฝนตกไม่นานก็เลยไม่เท่าไร
หลังจากนั้นผมไปเที่ยวดอยอินทนนท์ฤดูฝน
ใครเคยไปอินทนนท์ฤดูฝนคงรู้นะครับว่าฝนมันตกทั้งวันทั้งคืนไม่มีหยุด แล้วผมก็ได้รับรู้ว่า
เต็นท์หลังนี้เป็นอย่างไร น้ำเข้าตามตะเข็บ ซิบ และพื้นเต็นท์
ผมต้องเอาผ้ามาเรียงรอบเต็นท์เพื่อให้ผ้าซับน้ำ
ประมาณครึ่งชั่วโมงต้องลุกมาเอาผ้าไปบิดน้ำออกแล้วมาซับน้ำใหม่ ทำอย่างนี้อยู่สองวันไม่ไหว กลับดีกว่า
เป็นการเที่ยวที่ไม่มีความสุขเลยจริงๆ กลับไปคงต้องเปลี่ยนเต็นท์ใหม่ซะแล้ว ผมใช้เต็นท์หลังนี้อยู่แค่ 1
ปีเท่านั้น เที่ยวป่าประมาณสิบกว่าครั้ง ไม่ค่อยคุ้มเลย

เต็นท์หลังนี้สอนให้ผมรู้ว่า เอ๊ะ… ของดีไม่ถูก ของถูกอาจไม่ดี สวยแต่รูป จูบไม่หอม
เลือกเต็นท์ต้องเอาใจใส่มากกว่านี้แล้วมั้ง

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:17:40] mail not show 210.86.181.20

Comment : 6

Zoom ++ Click

จากนั้นผมก็มองหาเต็นท์หลังใหม่อีกครั้ง ประมาณเดือนเมษายน ผมตั้งใจจะไปเที่ยวภูกระดึง
ผมไม่แน่ใจว่าจะเจอฝนหรือไม่ ทุกคนบอกว่าปีนี้แล้วมากๆ แต่ด้วยความที่เที่ยวป่าแถบนี้มานาน
ผมรู้ว่าช่วงเมษายนจะเป็นช่วงที่ป่าด้านนี้มีฝนแล้ว ยกเว้นแต่ว่าสภาพอากาศผิดปกติจริงๆ เช่น
มีปรากฏการเอลนินโย่ ผมได้ภาพทะเลหมอกสวยๆ จำนวนมากจากป่าด้านนี้ในฤดูร้อน ใครๆ
ดูภาพก็จะนึกว่าเป็นฤดูหนาวกันทั้งนั้น
เต็นท์หลังที่สามของผมเป็นเต็นท์โดมเหมือนเดิม มีโครงไฟเบอร์ไขว้ซึ่งเป็นทรงยอดนิยมในปัจจุบัน
ขนาดเต็นท์ประมาณ 2x2 เมตรนอนสบายๆ วัสดุที่ใช้ก็ดูดี ผ้าร่มเคลือบกันน้ำ ยี่ห้อไว้ใจได้
ทุกอย่างผ่านหมด ราคา 3,000 บาท เป็นเต็นท์ที่แพงที่สุดเท่าที่เคยซื้อมาเลย หลังจากนั้นผมก็ขึ้นภูกระดึง
เป็นไปตามคาด สามวันแรกผมไม่เจอฝนเลย แต่วันที่สี่ คืนนั้นผมโดนฝนหนักมาก ตอนแรกก็นอนสบายๆ
ไม่มีปัญหาอะไร ในขณะที่เพื่อนๆ ที่ไปด้วยกันน้ำเข้าเต็นท์หมดทุกคน ผมคิดว่าน่าจะผ่านแล้ว ที่ไหนได้
ประมาณเที่ยวคืนกว่าๆ ผมรู้สึกว่าเท้าเปียกๆ น้ำซึมเข้ามาทางตะเข็บและซิบ ผมต้องเอาผ้ามาคอยซับน้ำ
น้ำเข้ามาเร็วมากๆ จนต้องยอมเปียกฝน เอาผ้าใบไปคลุมเต็นท์อีกรอบ เอาละหว่า เต็นท์ 3,000 บาท
ใช้งานครั้งเดียวเองนะเนี้ย น้ำเข้าแล้วหรือ
วันรุ่งขึ้นผมเดินดูรอบๆ เต็นท์ดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับเต็นท์ของเรากันแน่ ทำไมน้ำถึงเข้าได้
ปรากฏว่าน้ำเข้าที่ซิบกับตะเข็บจริงๆ รวมทั้งที่มุมพื้นเต็นท์ด้วย คืนต่อมาฝนตกหนักอีกแล้ว
ผมต้องเอาผ้าพลาสติกคลุมมุมพื้นเต็นท์ และคลุมเต็นท์ทั้งสี่ด้าน
ไม่ให้น้ำฝนสาดเข้าตะเข็บและซิบเต็นท์ได้ สำหรับผมแล้ว
เต็นท์หลังนี้เป็นเต็นท์ที่ผมรู้สึกไม่คุ้มค่าที่สุด เพราะราคาตั้ง 3,000 บาท แล้วใช้ครั้งเดียวน้ำเข้า
อะไรจะปานนั้น แต่ผมก็ยังใช้เต็นท์หลังนี้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน เพราะผมยังรู้สึกว่าไม่คุ้มค่า
แต่ก็ต้องเอาผ้าพลาสติกมาคลุมจุดที่น้ำเข้าได้ทุกครั้งที่ในฝนตก
สิ่งที่ผมได้จากเต็นท์หลังนี้คือ ยี่ห้อดีอาจจะไม่ดี ราคาสูงอาจจะคุณภาพไม่สูงตามราคา
เอ๊ะ…หรือเป็นเพราะเราตาถั่วเอง

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:18:05] mail not show 210.86.181.20

Comment : 7

Zoom ++ Click

เลือกเต็นท์คู่ใจไว้ใช้งาน
เรื่องนี้มาจากประสบการณ์ส่วนตัว ไมได้มีหลักวิชาการใดๆ ผู้อ่านโปรดค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม
ปัจจุบันผมได้เต็นท์มาอีกหลัง เป็นเต็นท์จากอเมริกา ขนาดเต็นท์นอนได้แค่สองคน เป็นเต็นท์โดมถูกใจผมมาก
เพราะอะไรรู้ไหมครับ
1.เป็นเต็นท์โดม เข้าออกสะดวก ไม่มีเสากลางมาเกะกะ
2.มีฟลายชีททำจากผ้าร่มเคลือบเงิน สะท้อนแสงและความร้อนได้ดี และกันน้ำได้ดีมากอีกด้วย
3.ตะเข็บเย็บแน่นหนามาก
4.ด้านทางเข้าออกมีผ้าปิดสองชั้น และมีสาบปิดซิบป้องกันน้ำเข้าสองชั้น
5.พื้นเต็นท์เป็นพลาสติกเหนียว เรียบดีมาก ด้านในเป็นผ้ามุ้งระบายความร้อนได้ดี
ในการเลือกเต็นท์ใช้งาน ไม่แน่ว่ายี่ห้อดังแล้วคุณภาพจะดี ยี่ห้อไม่เคยได้ยินจะไม่ดี
ราคาก็ไม่ได้เกี่ยวกับคุณภาพเต็นท์ ผมแนะนำให้ดูที่วัสดุและความประณีตในการผลิตมากๆ
ฟลายชีทควรสะท้อนแสงและความร้อน ป้องกันน้ำ เพราะฟลายชีทจะเป็นด่านแรกในการเจอกับสิ่งแวดล้อมร้ายๆ
เสาไฟเบอร์และคลิบหนีบต่างๆ ต้องแข็งแรง และถ้าไม่อยากไปเสียฟอร์มตอนใช้งานจริง
แนะนำให้ลองเอาน้ำฉีดใส่เต็นท์หรือลองเอาเต็นท์มากางตอนฝนตก ดูว่าน้ำเข้าหรือไม่
ถ้าไม่เข้าก็ลุยได้เลยครับ แต่ถ้าน้ำเข้าจะได้ระวังเอาไว้ ไม่ได้บอกให้ทิ้งนะครับ
ให้หาทางป้องกันบรรเทาเท่านั้นเอง เพราะผมเองก็ยังใช้เต็นท์ที่มีปัญหาอยู่ ก็มันยังไม่คุ้ม
แต่ถ้าจะซื้อใจเย็นๆ พิถีพิถันกันหน่อยนะครับ
Attached Images

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:18:34] mail not show 210.86.181.20

Comment : 8

Zoom ++ Click

ไปเที่ยวป่าแต่ละครั้งจะเจอคนกางเตนท์กันมากมาย ถ้าเป็นฤดูหนาวควรเลือกเตนท์แบบปิด
เพื่อให้อุ่นและลมเข้าน้อย ฤดูร้อนต้องใช้เตนท์เปิด มีหน้าต่างมากๆ ให้ลใรบาย อากาศถ่ายเท
ฤดูฝนต้องเลือกเตนท์มีฟลายชีท เคลือบกันน้ำ มีสาบผิดซิบ แข็งแรง

ฤดูฝนเป็นฤดูที่ทดสอบเตนท์ได้ดีที่สุด

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:19:02] mail not show 210.86.181.20

Comment : 9

Zoom ++ Click

1

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:19:26] mail not show 210.86.181.20

Comment : 10

Zoom ++ Click

1

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:19:32] mail not show 210.86.181.20

Comment : 11

Zoom ++ Click

เตนท์หน้าสุด เป็นเตนท์ที่ใช้ในฤดูหนาวหรือที่อากาศเย็นมากๆ มีหน้าต่างน้อยบาน ผ้าเคลือบกันฝน
มีสาบป้องกันน้ำเข้า (ทดสอบในฤดูฝนมาแล้ว ผ่าน แต่ฤดูร้อนนอนไม่ได้เลย)

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:19:59] mail not show 210.86.181.20

Comment : 12

Zoom ++ Click

เตนท์ปัจจุบันที่ใช้อยู่ ของ Camp Inn ใช้ได้เลย ตรงตามเสป็กทุกประการ ราคาไม่แพง แต่น้ำหนักมากหน่อย

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:20:21] mail not show 210.86.181.20

Comment : 13

Zoom ++ Click

เตนท์เช้าของป่าไม้ ใหญ่ เรียบร้อย จุของและคนได้มาก แต่ไม่แน่ใจว่าฤดูฝนน้ำจะเข้าหรือไม่ เพราะไม่มี
Fly Sheet เลย อาจจะต้องใช้ผ้าพลาสติกคุมป้องกันด้านบนอีกชั้น

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:20:40] mail not show 210.86.181.20

Comment : 14

Zoom ++ Click

เตนท์โดมทรงโค้งปิด 2 ด้าน เหมาะกับหน้าหนาวและหน้าฝน มีสาบปิดกันน้ำซึม

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:20:59] mail not show 210.86.181.20

Comment : 15

Zoom ++ Click

ด้านในเตนท์ทรงโค้ง ยังไม่ได้คลุมฟลายชีท แบบนี้ฝนตกน้ำเข้าแน่

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:21:19] mail not show 210.86.181.20

Comment : 16

Zoom ++ Click

ถ้าไม่แน่ใจให้เอาพลาสติกคลุม แต่การคลุมที่ถูกต้องคือ
คลุมด้านบนให้พลาสติกลอยเหนือเตนท์และเทลาดไปด้านหนึ่งเพื่อให้น้ำไหลสะดวก ไม่กักหรืออุ้มน้ำ

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:21:38] mail not show 210.86.181.20

Comment : 17

Zoom ++ Click

กระโจมหกเหลี่ยม แต่ก่อนฮิทและหรูมาก ตอนนี้ เด็กๆ
ใช้งานดี วางของได้มาก แต่นอนได้อย่างมากแค่ 2 คน กางยาก และหนัก แพง กันน้ำได้ดี

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:22:07] mail not show 210.86.181.20

Comment : 18

Zoom ++ Click

เตนท์ทรงโค้งมีฟลายชีท ไม่กันน้ำเท่าไรนัก โดยเฉพาะช่วงซิบ ไม่มีสาบกัน ฝนตกหนักนานๆ น้ำจะเข้าได้
ไม่เหมาะกับหน้าร้อน

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:22:28] mail not show 210.86.181.20

Comment : 19

Zoom ++ Click

ด้านในเตนท์หกเหลี่ยม

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:22:51] mail not show 210.86.181.20

Comment : 20

Zoom ++ Click

สาบกันน้ำ สำคัญมากๆ สำหรับเตนท์ที่ใช้งานในฤดูฝน

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:23:12] mail not show 210.86.181.20

Comment : 21

Zoom ++ Click

อีกจุดที่สำคัญมากคือ ปลายของพื้นเตนท์ พื้นเตนท์ต้องหาและเคลือบกันน้ำ เย็บหลายทบเพื่อกันน้ำซึมเข้า
เตนท์ไม่ดีน้ำจะเข้าจากพื้นได้ง่ายมาก

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:23:31] mail not show 210.86.181.20

Comment : 22

Zoom ++ Click

เตนท์แบบปิด ไม่มีฟลายชีท ใช้ในฤดูหนาวที่อากาศเย็นจะดีมาก แต่ไม่เหมาะกับสภาพในตกชุกและร้อน

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:23:50] mail not show 210.86.181.20

Comment : 23

หวังว่าคงได้เตนท์ที่ถูกใจกันนะครับ

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:24:31] mail not show 210.86.181.20

Comment : 24

Zoom ++ Click

ขอขอบคุณ Mr.Auto ณ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แหล่งที่มาของบทความนี้
เป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังเลือกซื้อเต็นท์อย่างมาก ผมเลยเอามาฝากชาว ชมไทย....

m_aguero.jpg aguero [2008-05-21 10:26:28] mail not show 210.86.181.20

Comment : 25

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆคร๊าบบบ

m_alove.jpg alove [2008-05-21 10:31:38] mail not show 119.42.67.70

1

Bookmark and Share

Reply

 



Board v.0.12 beta :: Powered by : PacketLove.com | ГСєทУ SEO | electric cigarette | аЗзєдซตмКУаГзЁГЩป | аЗзєКУаГзЁГЩป | №СиงКБТёФ| КตФปСЇฐТ№ dentist bangkok | implant bangkok | veneer bangkok | implant thailand | dentist sukhumvit | dental sukhumvit | fast braces bangkok | tooth whitening bangkok | Huahin Resort | Pool Villa Huahin |

© 2543-2562-CHOMTHAILAND, All rights reserved.